เรื่องที่บริษัทรถไฟของญี่ปุ่นขอโทษเรื่องออกรถเร็วก่อนเวลาเพียงไม่กี่วินาทีกำลังเป็นข่าวดัง ความจริงแล้วสำหรับคนที่เคารพกฏหมายอย่างดีอยู่เสมออย่างคนญี่ปุ่นนั้นเรื่องนี้มีเหตุผลของมันอยู่ค่ะ
เรื่องที่รถไฟและรถบัสไม่ควรทำที่สุดก็คือ “ออกเร็วก่อนเวลา” นั่นเองค่ะ
เรื่องนี้ไม่ใช่แค่รถไฟเท่านั้น แต่รถบัสก็เป็นเหมือนกันค่ะ และมีรายการทีวีที่นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องที่รถบัสออกรถเร็วก่อนเวลาพอดี ทางเราจึงนำมาให้ทุกคนได้ดูกันค่ะ
รถไฟและรถบัสที่ญี่ปุ่นจะมีตารางเวลารถอยู่
คงมีหลายคนที่มาเที่ยวญี่ปุ่นและต้องตะลึงกับความตรงเวลาของรถไฟญี่ปุ่นอยู่ไม่น้อยเลยใช่มั้ยคะ? เรื่องรถมาช้าก็อีกเรื่องนึง แต่การที่รถไปถึงจุดหมายก่อนเวลาก็ไม่เห็นว่าน่าจะเป็นปัญหาอะไรเลยใช่มั้ยล่ะคะ?
ทั้งๆที่ดูแล้วไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ทำไมถึงห้าม “ออกเร็วก่อนเวลา”? พอไปถามเหล่าพนักงานขับรถบัสจึงได้รู้ว่า…
ถึงแม้ว่ารถบัสจะมาสาย ผู้โดยสารก็แค่รอครับ
แต่ถ้ารถบัสออกก่อนเวลาแล้วล่ะก็ถึงผู้โดยสารจะมาถึงตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ก็ตามก็จะไม่สามารถขึ้นรถได้
การที่รถออกก่อนเวลานั้นเป็นเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้โดยสารที่สุดเลยครับ
อีกทั้งยังมีกฏระเบียบในการลงโทษพนักงานขับรถบัสที่ออกรถก่อนเวลาอีกด้วย
ถ้าออกรถก่อนเวลาไม่ว่าจะก่อน 5 วินาทีหรือ 1 วินาทีก็ตามก็ต้องโดนลงโทษ
โดนลดเงินเดือนครับ
ออกรถก่อนเวลาเพียงแค่ 1 วินาทีก็ต้องโดนลงโทษ สมกับเป็นคนญี่ปุ่นจริงๆเลยค่ะ
(ออกรถก่อนเวลาจะโดนลดเงินเดือน) แต่ในกรณีที่ออกสายนั้นก็เพียงแค่พูดว่า “ขอโทษที่ทำให้รอ” แค่นั้นก็จบครับ
ในเมืองใหญ่นั้นอาจจะเข้าใจยากหน่อยค่ะ แต่หากเป็นบ้านนอกของญี่ปุ่นแล้วล่ะก็กว่ารถจะมาซัก 1 คันต้องรอถึง 2-3 ชั่วโมงเลยทีเดียวค่ะ ในกรณีนี้หากรถออกก่อนเวลาก็จะทำให้ผู้โดยสารที่ขึ้นรถไม่ทันต้องรอรถคันต่อไปเป็นเวลานานมากเลยค่ะ
ผู้เชี่ยวชาญด้านรถบัส “มีกฏหมายอยู่ว่ารถบัสประจำทางห้ามออกเร็วกว่าเวลาที่กำหนดไว้ครับ”
กฎหมายการคมนาคมและการขนส่งทางรถไฟของญี่ปุ่น มาตราที่ 22
เป็นกฏหมายที่ตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ.1942 จึงมีการใช้คำที่ค่อนข้างเก่าไปบ้างค่ะ แต่เนื้อหาที่เขียนไว้อยู่นั้นก็คือ “ห้ามออกรถก่อนเวลาที่กำหนดไว้” นั่นเองค่ะ (นี่เป็นกฏหมายของรถไฟ ส่วนกฏหมายของรถบัสนั้นจะเป็นคนละแบบกันค่ะ)
เพราะฉะนั้นการออกรถก่อนเวลานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่การสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้โดยสารเท่านั้น แต่ยังผิดกฏหมายอีกด้วย
แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็น่าตกใจกับการรักษากฎระเบียบที่ถูกต้องของคนญี่ปุ่นที่ทำมากันตลอดเกือบ 80 ปีมากเลยค่ะ