ลานบินบนทะเลของสนามบิน Haneda โดยเทคโนโลยีแรกของโลก เพื่อไม่ให้ทำลายระบบนิเวศ

ลานบินบนทะเลของสนามบิน Haneda โดยเทคโนโลยีแรกของโลก เพื่อไปให้ทำลายระบบนิเวศ เทคโนโลยี

ลานบิน D ของสนามบินฮาเนดะสร้างขึ้นโดยเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบแรกของโลก เพื่อที่ไม่ให้ทำลายระบบนิเวศ ญี่ปุ่นจึงใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการสร้างลานบินนี้ขึ้นมา

เทคโนโลยีแรกของโลกที่ปกป้องรักษาระบบนิเวศของลานบิน D ของสนามบินฮาเนดะคืออะไร?

เทคโนโลยีแรกของโลกที่ปกป้องรักษาระบบนิเวศของลานบิน D ของสนามบินฮาเนดะคืออะไร?

เมื่อวันก่อน ทางรายการโทรทัศน์ญี่ปุ่นได้นำเสนอเรื่องลานบินของสนามบินฮาเนดะที่สร้างขึ้นโดยเทคโนโลยีแรกของโลก

สถานที่ตั้งลานบิน D ของสนามบินฮาเนดะ

สถานที่ตั้งลานบิน D ของสนามบินฮาเนดะ

ลานบิน D ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำทามะกาวะค่ะ

ตามที่เห็นในภาพจะเห็นได้ว่ากระแสการไหลของแม่น้ำถูกกีดขวางอยู่

หากกระแสการไหลของแม่น้ำเปลี่ยนไปอาจเกิดผลกระทบที่ไม่ดีต่อระบบนิเวศก็เป็นได้

หากกระแสการไหลของแม่น้ำเปลี่ยนไปอาจเกิดผลกระทบที่ไม่ดีต่อระบบนิเวศก็เป็นได้

หลายคนอาจคิดว่ายังมีช่องว่างให้แม่น้ำไหลอยู่ จึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด

แต่ถ้าความกว้างของแม่น้ำเปลี่ยนไปอาจมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้

และหากคุณภาพของน้ำในแม่น้ำแย่ลง อาจมีความเป็นไปได้ที่ปลาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆจะสูญพันธุ์ได้เช่นเดียวกัน

เพราะฉะนั้นญี่ปุ่นจึงใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ชื่อว่า “Jacket type pier” ค่ะ

เพราะฉะนั้นญี่ปุ่นจึงใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ชื่อว่า “Jacket type pier” ค่ะ

ถ้าให้พูดแบบเข้าใจง่าย “Jacket type pier” ก็คือโครงสร้างแบบที่ตั้งเสาเอาไว้และตั้งลานบินไว้ข้างบนเสานั้นค่ะ

หน่วยงานขนาดใหญ่เช่นนี้ก็เคยถูกนำไปสร้างตามสถานที่อื่นๆด้วยเช่นกัน…

หน่วยงานขนาดใหญ่

ถูกติดตั้งและขนด้วยเรือที่มีเครนขนาดใหญ่

ถูกติดตั้งและขนด้วยเรือที่มีเครนขนาดใหญ่

ถูกประคองด้วยเสาทั้งหมด 1,165 ต้นและด้านล่างของลานบินยังเป็นโพรงอีกด้วยค่ะ

ถูกประคองด้วยเสาทั้งหมด 1,165 ต้นและด้านล่างของลานบินยังเป็นโพรงอีกด้วยค่ะ ถูกประคองด้วยเสาทั้งหมด 1,165 ต้นและด้านล่างของลานบินยังเป็นโพรงอีกด้วยค่ะ

ไม่ได้ใช้วิธีถมลงไปจึงไม่ไปกีดขวางกระแสการไหลของแม่น้ำ

น้ำในแม่น้ำทามะกาวะก็ยังไหลอยู่ข้างล่างลานบินเหมือนเดิมค่ะ

นี่คือโครงสร้างแบบแรกของโลกในปี 2010

นี่คือโครงสร้างแบบแรกของโลกในปี 2010

ตัวเสาจะอยู่ในน้ำตลอดไป แต่ก็มีความทนทานถึง 100 ปีเลยทีเดียว

ดังนั้น ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นจะมีราคาเท่ากับการก่อสร้างแบบดั้งเดิม แต่ในกรณีที่ใช้ไปแล้ว 100 ปี จะสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้ถึง 80% เลยทีเดียว

สามารถเข้าไปดูรูปภาพตอนที่กำลังก่อสร้างได้มากมายตามลิ้งค์นี้ คนไหนสนใจสามารถเข้าไปดูได้เลยนะคะ

ที่มา​ ( trendswatcher )

Related Posts